"Global warming" เราเชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จักคำนี้มาเป็นอย่างดี หลายท่านคนรู้จักผ่านช่องทางของสื่อออนไลน์, วิทยุโทรทัศน์, หรือตามรายการสารคดี แต่หลายคนเคยทราบหรือไม่ว่าถึงปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้เกิด "Climate Change" (การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) สิ่งแวดล้อมโลก นั้นมีผู้จับตามองอยู่ โดยผู้ที่จับตามอง และควบคุมปัญหาเหล่านี้ก็คือ UN หรือ United Nations องค์การสหประชาชาติ ผู้ที่คอยรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระดับประเทศ
องค์การสหประชาชาติ ได้มองเห็นถึงปัญหาของวิกฤตการณ์ "Climate Change" และได้มีการกำหนดจัดตั้งวันที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องทันมาใส่ใจวิกฤตการณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก นั้นก็คือ การกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นวันที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการสร้างความตระหนัก และตื่นตัวต่อวิกฤตการณ์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยฝีมือของมนุษย์ โดยในทุกๆวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีนั้น จะถือได้ว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก และมีการจัดตั้งการประชุมโดยมีสมาชิกจาก 113 ประเทศมาเข้าร่วมการประชุมในทุกปี ซึ่งจะเป็นการประชุมพูดคุยถึงปัญหาของการทำลาย และวิธีการช่วยเหลือต่อสภาพแวดล้อโลกที่กำลังถูกเอาเปรียบอยู่ โดยในปี 2021 การประชุมขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ที่ 5 มิถุนายน ได้มีประเทศปากีสถาน ขึ้นเป็นเจ้าภาพในการประชุม
ในปี 2021 ที่ผ่านมานี้ ประเทศปากีสถาน ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุม โดย ปากีสถาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ได้พูดถึงสิ่งที่ประเทศของตนนั้น ได้ทำการลงมือช่วยเหลือ และปฏิบัติต่อโลก โดยปากีสถาน ได้ออกนโยบาย และมีการลงมือทำจริงไปแล้วในหลายหน่วยงานยกตัวอย่างเช่น
การออกตราสารหนี้สีเขียวนั้น คือการเปิดกองทุนตราสารหนี้ ที่ให้ผู้ผู้ลงทุน สามารถลงทุน และมีส่วนร่วมกับการเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูโลกของเรา โดยโครงการของการลงทุนนั้น จะเป็นการนำเงินที่ได้ ไปลงทุนโครงการที่มีการสร้างเพื่อจุดประสงค์ในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันให้น้อยลง เช่น การลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และใช้พลังงานสะอาด การลงทุนกับบริษัทผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และน้ำดื่มที่ใส่ใจขั้นตอนของกระบวนการผลิตที่ดีต่อโลก หรือ การลงทุนด้านการดำรงชีวิต การศึกษา และสาธารณสุข เป็นต้น
ปัจจุบันนี้มาตราการการลงทุนในตราสารหนี้สีเขียวนั้น ถูกใช้ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป และไทย
ในการประชุมปี 2021 ที่ผ่านมานี้ ปากีสถาน ได้ประกาศการสนับสนุนโครงการ และทุกส่วนจากปากีสถาน ทั้งด้านการลงทุนในเทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถทำให้ช่วยลดผลการทบของสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน ประเทศปากีสถาน มีพื้นที่รวมถึง 881,913 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นแหล่งน้ำ เพียง 2.86% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งในปีนี้ ประเทศปากีสถาน ได้ประกาศเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพิ่มเติม
โครงการ Bonn Chellenge เป็นโครงการที่ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในปากีสถาน เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ในการร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ป่าทั้งหมด ที่เกิดการเผาทำลาย และเสียหาย จากฝีมือมนุษย์ ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
และโครงการสุดท้ายนี้ เป็นโครงการต่อเนื่อง ที่ทำร่วมกับโครง Bonn Chellenge นั้นก็คือ โครงการร่วมปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้นภายในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการใหญ่ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในระยะยาวของประเทศปากีสถาน
วันสิ่งแวดล้อมโลกในไทยนั้น เราสามารถเห็นได้หลายๆ โครงการจากรัฐบาลที่มีการแบ่งเงินงบประมาณส่วนหนึ่ง มาเป็นงบประมาณในการฟื้นฟู และสร้างฝืนป่า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตามข่าวหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์หลายสำนักข่าว ถึงการรายงานข่าวการจัดกิจกรรมปลูกป่ามากมายในหลายๆ พื้นที่ของไทยโดยล่าสุดกับเหตุการณ์ปลูกป่าที่เชียงใหม่ กับกิจกรรม Climate Festival @North
Climate Festival @North เป็นกิจกรรมที่อยู่ในหนึ่งของทุกกิจกรรมทั้งหมดของโครงการปลูกป่า โดยกิจกรรม Climate Festival @North นั้นเป็นกิจกรรมที่จัดตั้งที่ อ่างเก็บน้ำ ห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งงานในครั้งนี้ ได้มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ และนายฌอน บูรณะหิรัญเข้าร่วมด้วย และกิจกรรมในครั้งนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นการทุ่มงบประมาณกว่า 23 ล้านบาท สล็อตออนไลน์ ในการปลูกป่าที่จุดนั้น โดยปัจจุบัน ป่าที่ถูกปลูกอยู่ใน กิจกรรมปลูกป่า Climate Festival @North ทั้ง 47 ต้นนั้น ได้เหี่ยวเฉา และได้ตายลง
โครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกกำหนดขึ้นจากคณะ คสช. โดยมีแกนนำคณะ คือ พลเอก ประยุทธ จันทรโอชา ผู้นำปฏิบัติการก่อกบฏรัฐประหารในปี 53 เป็นผู้วางแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ และพัฒนาประเทศไทย โครงการนี้ เป็นโครงการที่ทำให้ประไทยเรา ได้รับพื้นที่ผืนป่าคืนจากประชาชน ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ป่าที่ไม่มีการจัดตั้งโฉนดที่ดินที่ถูกกฏหมาย ซึ่งในส่วนนี้นั้น เป็นการที่ข้อมูลของด้านกรมที่ดิน และกรมป่าไม้นั้น มีข้อมูลไม่ตรงกัน จึงทำให้ชาวบ้านหลายๆกลุ่มเดือดร้อน และต้องออกจากพื้นที่ทำกินเดิมของตน
ส่วนพื้นป่าในส่วนที่ได้รับคืนนั้น ปัจจุบันถูกนำมาให้นายทุนใหญ่เข้าร่วมลงทุน มีการพัฒนาพื้นที่ จัดตั้งโรงงาน และทำให้เกิดความเสียหายของผืนป่า ซึ่งต่อมาก็ได้มีข่าวการถ่างป่าบุกรุกเพื่อตั้งบ้านพักตุลาการ ที่พื้นที่ป่า ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งหมดนี้คือโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมโลกจริงหรือ หรือเป็นเพียงแค่โครงการที่รัฐบาล กำลังหาผลประโยชน์จากผืนป่า