ขอบคุณรูปภาพจาก google.com
วิทยาศาสตร์กับไสย์ศาสตร์ เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน และถึงแม้ว่าไสย์ศาสตร์ โหรศาสตร์ หรือ ดาราศาสตร์ นั้นจะอยู่คู่กับคนไทยมานานกว่า วิทยาศาสตร์ก็ตาม วิทยาศาสตร์ กับศาสตร์แห่งความเชื่อนั้นมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างกลาง เป็นสิ่งที่คั้นบางๆ ที่เรียกว่า “การทดลอง” ยุคก่อนที่จะมีการทดลอง และการพิสูจน์ว่า เมื่อทำยิ่งนั้น หรือเมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้ จึงจะเกิดผลแบบนี้ ในยุคนั้นเราจะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า ไสย์ศาสตร์ โหรศาสตร์ หรือดาราศาสตร์ นั้นเอง แต่เมื่อเราทราบถึงผลของปรากฏการณ์ และมีบันทึกการทดลองแล้วเราจึงปรับคำเรียกใหม่ และเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์
เอาละ วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และความเชื่อของโหรศาสตร์ไทย การคำนวณที่ส่งผลขึ้นจริงในทางวิทยาศาสตร์จนทำให้คนในยุคนั้นเปลี่ยนความเชื่อจากสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริง วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สุดท้ายเกิดการยอมรับ และเรียกว่า “วิทยาศาสตร์”
ขอบคุณรูปภาพจาก google.com
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2412 ในวันที่ 18 สิงหาคม โดยในครั้งนั้น ได้มีการเฉลิมพรเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ให้เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ด้วยการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่แม่นยำของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
การคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่มีความแม่นยำของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้น ได้มีนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเจ้าเมืองสิงค์โปร์อย่าง เซอร์แฮรี ออด ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนั้น ครั้งนั้นการบันทึกเหตุการณ์เป็นเพียงแค่การจดบันทึกการน้ำหมึกลงกระดาษโดยเซอร์แฮรี ออด แต่ภายหลัง วิทยาศาสตร์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้นำมาแปลเป็นภาษาไทย และเริ่มเผยแผ่สู่สาธารณะชนในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2518
สำหรับจุดเริ่มต้นความเป็นมาของ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” นั้น เริ่มต้นจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีความชื่นชอบในวิชาดาราศาสตร์ที่เป็นตำราคาส่วนหนึ่งของโหราศาสตร์ไทย และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก ความชอบนี้ส่งผลให้พระองค์ได้มีการศึกษา และค้นคว้าลงไปในเชิงลึก จนได้คิดค้นวิธีการคำนวณปักข์ หรือ ครึ่งเดือนทางจันทรคติ (การกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมนั้นเอง หรือเรียกง่ายๆว่า การกำหนดวันที่พระจันทร์เต็มดวง และวันที่ไม่มีพระจันทร์) เมื่อทรงได้คิดค้นสำเร็จแล้ว ได้มีการนำมาใช้กับการกำหนดวันธรรมสวนะ หรือ วันพระ และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ปฏิทินปักขคณนา” นั้นเอง และได้มีการคิดค้นดัดแปลงออกมาให้อยู่ในรูปแบบกระดาน ลักษณะเป็นกระดาษไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า “กระดานปักคณนา” ซึ่งหากใครสนใจรับชม ปัจจุบัน “กระดานปักคณนา” ยังคงมีการใช้งานอยู่สามารถขอรับชมได้ที่ วันราชาธิวาส นั้นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก google.com
ก่อนที่จะมีคำว่า “วิทยาศาสตร์” โลกของเราอยู่กับแม่มด หมอผีมาก่อน และก่อนที่เราจะยังไม่รู้วิธี ไม่มีใครพิสูจน์ได้ เรื่องเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นเรื่องลี้ลับ ซึ่งในปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่า ไสยศาสตร์ นั้นถูกพิสูจน์และเปิดโปงโดยการทดลองของวิทยาศาสตร์แล้วมากมาย และมีในบางส่วนที่ยังไม่ถูกพิสูจน์ หรือพิสูจน์ไม่ได้ และท้ายที่สุดก็ปล่อยให้วิชา หรือการกระทำเหล่าหายสาบสูญ และปล่อยให้เหลือเพียงเรื่องเล่า
ยกตัวอย่างเช่นการทำคุณไสย์มนต์ดำบางชนิด อย่างเช่นการที่เสกน้ำ สล็อตออนไลน์ หรือเสกของแล้วนำไปให้ผู้ที่เราไม่หวังดี หวังให้เขานั้นมีอันเป็นไป หรือเกิดอาการใดๆที่ผู้จ้างวานนั้นต้องการให้เป็น ผู้จ้างวานก็จะเดินทางไปหาหมอผี ผู้ควบคุมคุณไสย์ หรือผู้ที่มีความรู้ศึกษาเรื่องของไสยศาสตร์ ในบางกรณีที่มีการพิสูจน์ และมีการเปิดเผยจากผู้ที่กระทำคุณไสย์ มนต์ดำแล้วกลุ่มคนเหล่านั้นก็จะทำการนำส่วนผสมของพืชที่จะส่งผลให้มีฤทธิ์ต่อร่างกาย หรือส่วนหนึ่งของสัตว์ แมลงมีพิษ มาป่นละเอียดผสมรวมกันจนเป็นผง ในบางส่วนก็จะให้สิ่งที่มีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งพิสูจน์แล้วอย่างเช่น น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้นมาผสมกันพร้อมกับการบริกรรมคาถา การใช้คำพูด บทสวด หรือบทเพลง ที่ทำให้เหมือนกันการปลุกเสกสิ่งนั้นขึ้นมา ก่อนที่จะมอบให้กับผู้จ้างวานนำไปให้เป้าหมายรับประทาน หรือที่เรียกว่า “ยาสั่ง” นั้นเอง
ผลของ “ยาสั่ง” ที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ถูกนำมาป่นรวมกัน ได้รวมไปกับอาหาร และเครื่องดื่ม เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายที่ได้รับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตนเองเข้าไปเป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือในบางกรณีหากช่วยเหลือไม่ทันก็ทำให้เสียชีวิตได้
อย่างที่ยกตัวอย่างเรื่องของ “ยาสั่ง” สิ่งที่มนุษย์ไม่รู้ถึงวิธี ไม่รู้กระบวนการ จะถูกมองให้เป็นเรื่องลี้ลับ แต่เมื่อถูกพิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์ว่าวัตถุดิบที่นำมาป่นใส่รวมกันนั้นมีแต่สิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สิ่งนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่จะถูกเรียกว่า “ความเชื่อ” หรือ “ไสยศาสตร์” อีกต่อไป
ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมต่างชาติ ต่างก็พบว่ายังมีเรื่องราวมากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ และถูกพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และถ้าหาวันนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไม่ได้เผยแผ่แนวความคิด ขั้นตอน และกระบวนการการคำนวณเพื่อดูจันทรุปราคาออกสู่สาธารณะชนแล้ว การกำหนดวันขึ้นของพระจันทร์ อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในความเชื่อ และถูกมองว่าสามารถเสกดวงจันทร์ขึ้นมาได้ ก็เป็นได้